“เวียร์ทริศ”รวมพลัง “เมดพาร์ค” จัดกิจกรรม UNREAL PAIN วันตระหนักรู้”โรคไฟโบรมัยอัลเจีย”
ผลสำรวจชี้ 1 ใน 2 ผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจียทั่วโลก ได้รับผลกระทบรุนแรงด้านคุณภาพชีวิต
- การสำรวจครั้งใหม่1จัดทำขึ้นโดยเวียร์ทริศเพื่อศึกษาถึงภาระหนักและความยังไม่เป็นที่รู้จักของโรคเรื้อรังนี้ต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย
- โดยเฉลี่ย มักใช้เวลาวินิจฉัยประมาณหนึ่งปี ขณะที่ ผู้ป่วยไทยเกือบ 1 ใน 4 รายใช้เวลามากกว่า 3 ปีเช่นกัน
กรุงเทพฯ – 13 พฤษภาคม 2565 – ทุกวันที่ 12 พฤษภาคม ของทุกปี ทั่วโลกจะส่งสัญลักษณ์ริบบิ้นสีม่วงเพื่อให้ความสำคัญต่อวันตระหนักรู้โรคไฟโบรมัยอัลเจีย กลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วไป มีความชุกทั่วโลกประมาณ 2-8%2 ผู้ป่วยมักมีอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกที่ไม่เกิดการอักเสบเป็นวงกว้างและเรื้อรัง มักมีอาการร่วมทั้งทางร่างกายและจิตใจ จึงยากต่อการรู้แต่เนิ่น ๆ บริษัทเวียร์ทริศ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ โรงพยาบาลเมดพาร์ค จัดกิจกรรม UNREAL PAIN (The Fibromyalgia Journey) โดยภายในงานพญ.อุไรรัตน์ ศิริวัฒน์เวชกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเมดพาร์ค มาให้ข้อมูลโรค การรักษาและกายภาพบำบัด คุณแอนนี่ เพชรรัตน์ สิริเลิศสุวรรณ จาก Pilates Studio นำการออกกำลังกายพิลาทิสสำหรับผู้ป่วย นอกจากนี้ ยังได้เผยผลสำรวจ Elma โดยเวียร์ทริศเพื่อศึกษาความต้องการของผู้ป่วยเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยและรักษาที่ทันท่วงที
เภสัชกรหญิง อมินตา ยินดีพิธ ตำแหน่ง Head of Marketing บริษัท เวียร์ทริศ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เวียร์ทริศ มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมผู้คนทั่วโลกให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นในทุกช่วงชีวิต เราทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพที่คุณภาพสูงและมีความยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังจากโรคไฟโบรมัยอัลเจีย ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงทุ่มเทความพยายามของเราในการทำให้โรคไฟโบรมัยอัลเจียเป็นที่รู้จักมากขึ้น และสนับสนุนให้ผู้ป่วยจัดการกับอาการป่วยได้ดีขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นดังกล่าว เวียร์ทริศ ได้จัดทำแบบสำรวจ Elma รูปแบบออนไลน์ใน 6 ประเทศ ได้แก่ บราซิล จีน เม็กซิโก ไต้หวัน ไทย และตุรกี โดยมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคไฟโบรมัยอัลเจียร่วมตอบแบบสอบถาม 553 คน เปิดเผยเส้นทางที่ซับซ้อนในการวินิจฉัยโรค ความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง และวิธีการรับมือกับอาการของโรค ที่มีสัญญาณเริ่มต้น ได้แก่ อาการปวดเรื้อรัง อ่อนเพลีย และปวดศีรษะ ซึ่งส่วนใหญ่สร้างความรำคาญใจอย่างมากหรืออย่างยิ่ง”
ผลการสำรวจผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจียชาวไทยพบว่า ก่อนเข้ารับการวินิจฉัย 6 ใน 10 ของผู้ป่วย หรือ 63% เริ่มมีอาการอ่อนเพลีย จากนั้นมีอาการปวดเรื้อรัง 40% และกระจายตามร่างกายที่หลากหลาย 46% เกือบ 2 ใน 3 หรือ 64% มีอาการปวดศีรษะ นำไปสู่โรคนอนไม่หลับ 53% และ วิตกวังวล 48% มากกว่าครึ่งของผู้ป่วยรู้สึกกลุ้มใจ วิตกกังวล และมีภาวะซึมเศร้า สำหรับผู้ป่วยไทยอาการทางอารมณ์ร่วมที่พบบ่อยคือการขาดสมาธิ 28%
ผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจีย มักไม่ใส่ใจอาการเนื่องจากคิดว่าเป็นภาวะชั่วคราวและเกี่ยวข้องกับอายุที่มากขึ้น แม้ว่าการทำกิจกรรมส่วนใหญ่ทั้งทางสังคมและการพักผ่อนจะได้รับผลกระทบเพราะร่างกายที่อ่อนแอ ในผู้ป่วยทั่วโลก 1 ใน 2 รายรู้สึกว่าจำเป็นต้องจำกัดชีวิตการทำงาน 48% และกิจกรรมทางเพศกับคู่ครอง 47% ขณะที่ผู้ป่วยไทยมีการจำกัดกิจกรรมมากกว่าค่าเฉลี่ยที่ 65%
โดยเฉลี่ย ผู้ป่วยจะรอ 8 สัปดาห์ก่อนพบแพทย์ และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ 3 คนก่อนจะได้รับการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย นอกจากนี้ 1 ใน 4 ของผู้ป่วย หรือ 28% ระบุว่าการพบแพทย์ที่ถูกต้องเป็นเรื่องยาก ต้องผ่านการทดสอบจำนวนมากและไม่เป็นที่พอใจนานถึง 1 ปี 29% แม้ว้า 1 ใน 4 ของผู้ป่วยจะใช้เวลามากกว่า 3 ปี โดยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ 35% นักประสาทวิทยา 28% เป็นผู้วินิจฉัยหลัก
ผู้ป่วยมากกว่าครึ่งประสบปัญหาในการรับมือกับโรคนี้ทั้งในแง่อารมณ์และการปฏิบัติ โดย 58% ระบุว่าคุณภาพชีวิตได้รับผลกระทบทั้งหมดหรืออย่างมาก ผู้ป่วยอย่างน้อย 1 ใน 3 ต้องเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันอย่างมีนัยสำคัญหรือแม้แต่การเลิกรากันไป กว่า 60% ของผู้ป่วยระบุว่ามีความลำบากในการรับมือทั้งในระดับอารมณ์และในทางปฏิบัติ ผู้ป่วย 5 ใน 10 คนต้องการการสนับสนุนจากครอบครัว โดยเฉพาะการดูแลและการเคลื่อนไหว ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสัมพันธ์ของพวกเขา
ผู้ป่วยไทยได้รับคำแนะนำให้ทำกายภาพบำบัด 39% หรือจิตบำบัด 40% รักษาด้วยยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ 20% และรับคำแนะนำในการดำเนินชีวิต เช่น สุขอนามัยในการนอนหลับ 24% โดยกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาคือ แพทย์ออร์โธปิดิกส์ 35% และนักประสาทวิทยา 28% ผู้ป่วยส่วนใหญ่พึงพอใจต่อการรักษาของแพทย์อย่างมาก แม้ว่าผู้ป่วยประมาณครึ่งหนึ่งหรือมากกว่านั้นต้องการทางเลือกการรักษา กายภาพบำบัด และรับข้อมูลยาใหม่ๆ อยู่เสมอ
พญ.อุไรรัตน์ ศิริวัฒน์เวชกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเมดพาร์ค กล่าวเสริมว่า จากการศึกษาวิจัยในระยะ 30 มานี้เชื่อว่า ผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจียมีปัจจัยบางอย่างกระตุ้นให้ระบบประสาทส่วนกลางทั้งสมองและไขสันหลัง มีความไวต่อความปวดมากกว่าปกติ และมีระดับของสารเคมีในสมองและไขสันหลังผิดปกติเหนี่ยวนำให้ตอบสนองต่อความปวดมากกว่าปกติด้วย โดยสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และหากมีโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรค SLE ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะเป็นไฟโบรมัยอัลเจียมากขึ้นไปด้วย
เนื่องจากไฟโบรมัยอัลเจียมีอาการและอาการร่วมหลากหลายจึงทำให้ผู้ป่วยมักได้รับการวินิจฉัยโรคช้า มักผ่านการตรวจหลายอย่างและพบแพทย์หลายท่าน อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยไฟโบรมัยอัลเจียอาศัยการซักประวัติตรวจร่างกาย ตรวจเลือดและตรวจทางรังสีเพื่อหาโรคอื่นๆที่มีอาการซ้ำซ้อนกัน ตลอดจนติดตามการรักษาระยะหนึ่งก็จะให้การวินิจฉัยได้
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษาไฟโบรมัยอัลเจียคือการให้ความรู้ความเข้าใจ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน กลัวและวิตกกังวล หรือท้อแท้ ผู้ป่วยควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาในแต่ละขั้นตอนโดยมีเป้าหมายเพื่อลดอาการปวด ปรับปรุงสุขภาพกายโดยรวมและดูแลสุขภาพจิตใจ สู่คุณภาพชีวิตที่ดี
การรักษาด้วยยา จะมีบทบาทในการลดอาการปวด มีให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมแล้วแต่อาการหลักอันไหนเด่น ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรหายามารับประทานเอง นอกจากนี้ ยังมีผลการศึกษาพบว่าในไฟโบรมัยอัลเจีย การรักษาโดยไม่ใช้ยามีความสำคัญไม่แพ้การใช้ยาและแนะนำให้ใช้ก่อนหรือร่วมไปกับการใช้ยา เช่น การออกกำลังกายทั้งบนบกและในน้ำ โยคะ ชี่กง การรำมวยจีน กายภาพบำบัด การนวด การฝึกสมาธิ ตลอดจนจิตบำบัด เพื่อรับมือกับความปวดเรื้อรัง
การดูแลรักษาไฟโบรมัยอัลเจีย ไม่ได้มีความยุ่งยาก ไม่ต้องใช้เครื่องมือซับซ้อนใดๆ หากแต่เป็นงานร่วมกันของแพทย์กับผู้ป่วย และต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งก็จะสามารถทำให้อาการสงบลงได้ สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ”
คุณแอนนี่ เพชรรัตน์ สิริเลิศสุวรรณ จาก Pilates Studio “พิลาทิสเป็นการออกกำลังที่ไม่มีแรงกระแทกที่หนัก (low impact exercise) ช่วยให้ผู้ฝึกกระตุ้นมัดกล้ามเนื้อที่ถูกต้องได้ดีขึ้นโดยที่ไม่ทำให้เหนื่อยเกินไป และสามารถช่วยลดอาการปวดของโรคไฟโบรมัยอัลเจียได้ โดยจะฝึกเพิ่มเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strengthening)
การเหยียดยืดเพิ่มความยืดหยุ่น (flexibility) และการขยับข้อต่อและกระดูสันหลังเพิ่มเพิ่มความคล่องตัว (mobility) และที่สำคัญยังสามารถช่วยลดภาวะ depression ได้เป็นอย่างดี ท่าที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจีย อาทิ Pelvic clock, Bridging, Arm arc, Bent knee opening, Book opening”
ศึกษาข้อมูลโรคไฟโบรมัยอัลเจียเพิ่มเติมได้ที่ www.unrealpain.com
+++++++++++++++++++++++
ข้อมูลอ้างอิง:
- Elma Research LTD, March 2022 double-blinded quantitative survey based on a nationally representative population panel conducted in six countries (Brazil, China, Mexico, Taiwan, Thailand, and Turkey). Total sample: 553 men and women suffering from fibromyalgia, aged 25-65 yo. Survey commissioned by Viatris. Data on file.
- Clauw DJ, Fibromyalgia: a clinical review, JAMA. 2014;311(15):1547-1555, doi: 10.1001/jama.2014.3266 (Accessed April 2022)
เกี่ยวกับเวียร์ทริศ
เวียร์ทริศ อิงค์ (NASDAQ: VTRS) เป็นบริษัทด้านการดูแลสุขภาพรูปแบบใหม่ที่ช่วยให้ผู้คนทั่วโลกมีสุขภาพที่ดีขึ้นในทุกช่วงของชีวิต เราให้การเข้าถึงยา การดำเนินงานที่ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน พัฒนาโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมและยกระดับความเชี่ยวชาญของเราเพื่อเชื่อมโยงผู้คนจำนวนมากกับผลิตภัณฑ์และบริการมากขึ้นผ่าน Global Healthcare Gateway® ที่ไม่เหมือนใครของเรา เวียร์ทริศ ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2563 โดยนำความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ การผลิต และการจัดจำหน่ายมาไว้ด้วยกันพร้อมความสามารถด้านกฎระเบียบ การแพทย์ และการพาณิชย์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว เพื่อส่งมอบยาคุณภาพสูงให้แก่ผู้ป่วยในกว่า 165 ประเทศและเขตแดน กลุ่มผลิตภัณฑ์ของ Viatris ประกอบด้วยโมเลกุลที่ผ่านการรับรองมากกว่า 1,400 ตัวในพื้นที่การรักษาที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งโรคไม่ติดต่อและโรคติดเชื้อ ซึ่งรวมถึงแบรนด์ที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ยาสามัญและยาที่มีตราสินค้าที่ซับซ้อน กลุ่มผลิตภัณฑ์ยาชีววัตถุคล้ายคลึง (biosimilars) และผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายตรงต่อผู้บริโภคที่หลากหลาย ด้วยจำนวนพนักงานทั่วโลกประมาณ 37,000 คน เวียร์ทริศ มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่พิตต์สเบิร์ก เซี่ยงไฮ้ และไฮเดอราบาด ประเทศอินเดีย ศึกษาเพิ่มเติมที่ viatris.com และ investor.viatris.com และติดต่อกับเราทาง Twitter ที่ @ViatrisInc, LinkedIn และ YouTube